การวิจัยที่ผิดจรรยาบรรณ: การทดลองทีโนโฟเวียร์ของไทย
By Jerry Liang
Translated by Nattapol Kiatchaipipat
ในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน ประเด็นด้านศีลธรรมและจริยธรรมก็ได้รับความสนใจมากขึ้น ประเด็นต่างๆอย่าง “เราควรแก้ไขจีโนมของเด็กหรือไม่”, “เราควรให้สิทธิ์หุ่นยนต์ในการฆ่าหรือไม่” และ “เราควรตั้งรกรากบนดาวเคราะห์ดวงอื่นหรือไม่” หลายประเทศมีปัญหาด้านจริยธรรมและศีลธรรมระหว่างการศึกษาวิทยาศาสตร์ และประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน
ตัวอย่างหนึ่งของการทดลองสำคัญของไทยที่ทดลองบนมนุษย์ และถูกถือว่าผิดจรรยาบรรณคือการทดลองใช้ ทีโนโฟเวียร์สำหรับการป้องกันโรค HIV ซึ่งเริ่มในช่วงต้นทศวรรษที่ 2000 การทดลองนี้ศึกษาการใช้ ทีโนโฟเวียร์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ในกลุ่มผู้ใช้ยาฉีด (IDUs) ผู้เข้าร่วมครึ่งหนึ่งจะได้รับ ทีโนโฟเวียร์ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งจะได้รับยาหลอก ประเทศไทยเข้มงวดกับ IDU มาตลอด ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการวิสามัญฆาตกรรมมากถึง 3,000 ครั้ง อย่างไรก็ตาม นักวิจัยชาวไทยเชื่อว่ามันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของพวกเขาที่จะต้องแน่ใจว่าสิทธิมนุษยชนของผู้เข้าร่วมจะไม่ถูกล่วงละเมิด ชุมชนหลักสองแห่งที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับการทดลอง HIV ครั้งนี้คือ เครือข่ายผู้ใช้ยาไทย (TDN) และกลุ่มผู้สนับสนุนการรักษาเอดส์ของไทย (TTAG) แต่ว่ารัฐบาลไทยกลับมองข้ามข้อกังวลของพวกเขา
“เป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่ผู้ใช้ยาอย่างเราได้รับการปฏิบัติน้อยกว่ามนุษย์ ไม่คุ้มกับศักดิ์ศรีและสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับผู้อื่น แม้ว่านักวิจัยจะทราบดีว่า IDU ของไทยมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แต่พวกเขาก็ปฏิเสธที่จะจัดหาอุปกรณ์ฉีดที่สะอาดในบริบทของการทดลองนี้แม้จะใช้ยาหลอกก็ตาม” - ไพศาล สุวรรณวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มปฏิบัติการรักษาเอดส์ไทย (TTAG)
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือการขาดเข็มและหลอดฉีดยาที่ปราศจากเชื้อสำหรับผู้เข้าร่วม ความกังวลอีกประการหนึ่งก็คือการที่ รัฐบาลตั้งใจจะให้ทีโนโฟเวียร์แก่กลุ่มยาหลอกเป็นเวลา 1 ปีหลังจากการทดลอง ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมจะไม่ได้รับอะไรเลย บุคคลที่มีความเสี่ยงสูงสุดเท่านั้นที่จะได้รับ ทีโนโฟเวียร์เป็นระยะสั้นๆ นักวิจัยเห็นว่าสิ่งนี้มันผิดจรรยาบรรณ จึงมีการเจรจาเพื่อทำให้แน่ใจว่าผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะได้รับ ทีโนโฟเวียร์ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยก็ยังเชื่อว่าผู้เข้าร่วมทุกคนควรได้รับมาตรฐานการดูแลสูงสุด รวมถึงการส่งต่อที่มีคุณภาพ การสนับสนุนและการรักษา
รัฐบาลยังคงบังคับให้ IDUs เข้าร่วมในการทดลองใช้ ทีโนโฟเวียร์นี้ และ IDU ที่เข้าร่วมในการทดลองนี้มักเป็นผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยเมธาโดน นันทพล ชื่นสุขลิน ซึ่งเคยเข้าร่วมการทดลองวัคซีนในกลุ่ม IDU ในกรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ เล่าว่า
“ผมกลัวว่าถ้าผมปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการทดลอง ผมอาจทำให้เจ้าหน้าที่คลินิกไม่พอใจ หรือมันอาจจะส่งผลเสียต่อเมธาโดนที่ผมได้รับ”
ชุมชนเอชไอวี/เอดส์ในประเทศไทยไม่ได้ไร้เดียงสาเกี่ยวกับศีลธรรมของการทดลองทางคลินิก ผู้คนจำนวนมากได้รับอิทธิพลโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการทดลองโรคเอดส์ในอดีตที่มีข้อกังวลด้านศีลธรรม อย่างไรก็ตาม TDN และ TTAG แต่ให้ความเห็นอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นแล้วว่าพวกเขาสนับสนุนการปรับปรุงเครื่องมือเพื่อลดภาระของเอชไอวีในประชากรโลก และต้องการให้การทดลองนี้ดำเนินต่อไป ชุมชน TDN และ TTAG ได้แนะนำให้จัดตั้งคณะกรรมการซึ่งมีศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นประธาน เพื่อจัดการกับปัญหาการป้องกัน การรักษา และการดูแลเอชไอวีในการทดลองนี้ พวกเขาแนะนำว่าสมาชิกควรจะประกอบไปด้วยผู้แทน TDN สองคน ผู้แทนสภากาชาดไทย และผู้แทนรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชน จากมุมมองของ Science for the People Thailand เราสนับสนุนการเคลื่อนไหวที่ต่อต้านการบีบบังคับของผู้ด้อยโอกาสให้ทำการทดลองที่ไม่ต้องการ แต่ถ้าหากว่าการทดลองนั้นเป็นไปตามหลักจริยธรรมและเกิดขึ้นโดยสมัครใจ เราก็เป็นพร้อมที่จะให้การสนับสนุนต่อวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ
References
DEFINE_ME, www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140673605665014/fulltext.
Alcorn, Keith. “Thai Tenofovir Trial Runs into Trouble after Ethics Protests from Drug Users.” Aidsmap.com, 10 Mar. 2005, www.aidsmap.com/news/mar-2005/thai-tenofovir-trial-runs-trouble-after-ethics-protests-drug-users.
Chua, Arlene, et al. “The Tenofovir Pre-Exposure Prophylaxis Trial in Thailand: Researchers Should Show More Openness in Their Engagement with the Community.” PLoS Medicine, Public Library of Science, Oct. 2005, www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1261513/.