top of page
Search

Pollution

By Phuriwat Sangkasanee


บทนำ

ใครจะรู้ว่าศตวรรษที่ 18 จะนำการปฏิวัติครั้งใหญ่มาสู่โลก โดยการปฏิวัติที่เรากำลังจะพูดถึงอยู่นั้นก็คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปลายปี 1700 ไปจนถึงต้นปี 1800 ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมทุกสิ่งทุกอย่างก็ดูง่ายและสะดวกมากขึ้น รถที่คุณขับ, เครื่องบินที่บินพาคุณท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด, สินค้าที่คุณสั่งถูกส่งตรงถึงบ้านภายในเวลาไม่กี่วันโดยรถบรรทุก ไม่ใช่ความสะดวกสบายหรือ บางทีก็ดูดีเกินกว่าจะเป็นเรื่องจริง พูดตรง ๆ มันก็ดีเกินกว่าจะเป็นเรื่องจริง จริง ๆ นั่นแหละ สมัยก่อน การคมนาคมก็จะใช้สัตว์เลี้ยง เกวียน หรืออย่างที่ง่ายที่สุดก็คือการเดิน เมื่อการเดินทางนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก นับประสาอะไรกับเงื่อนไขการทำงานที่เข้มงวดที่มาพร้อมกัน เมื่อเทียบกับยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว การใช้ชีวิตของพวกเราในเวลานี้ง่ายขึ้นมาก แต่อะไรคือต้นทุน


ต้นทุน

แม้ว่าหลายคนจะถือว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีที่เกิดขึ้นกับโลก แต่มันก็มาพร้อมกับต้นทุน นับตั้งแต่การเกิดขึ้นมาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศก็ได้เกิดขึ้น ไม่เพียงแต่การปล่อยก๊าซคาร์บอนจะย่ำแย่ลงเท่านั้น แต่มันยังรวมถึงความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอีกด้วย การปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง and also impoverished the poor who worked in harsh jobs. ปัญหาเหล่านี้ หลัก ๆ คือ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ได้ขยายตัวไปในทุกประเทศ และเริ่มครอบคลุมทั่วโลก ด้วยการทำนายว่าอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้น 3.2 องศาเซลเซียส ในช่วงปลายศตวรรษ (เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเดิม 1.5 องศาเซลเซียส) โลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม



มลพิษทางอากาศ / การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ / ภาวะโลกร้อนในประเทศไทย

ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรประมาณ 70 ล้านคนในปีค.ศ.2022ไม่ได้ต่างจากส่วนที่เหลือของโลกเลยเมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนั้นเกิดจากมลพิษทางอากาศ ในประเทศไทย การปล่อยมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรม, การปล่อยมลพิษในรถยนต์, ชีวมวล, และการเผาไหม้ทางการเกษตรเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน โดยตัวการหลักของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเหล่านี้ไม่เพียงกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้นแต่ยังส่งผลต่อสุขภาพของบุคคลอีกด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องดำเนินการก่อน



มลพิษในด้านอุตสาหกรรม : มลพิษทางอากาศ

การปล่อยมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมสามารถอยู่ในรูปแบบของมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำ จากสองรูปแบบนี้ มลพิษทางอากาศถือว่าเป็นมีการคุกคามมากกว่า เพราะเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของสิ่งมีชีวิต ผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพนั้นมีตั้งแต่การหายใจติดขัดไปจนถึงมะเร็งปอด เรื่องนี้ถูกเน้นด้วยสิ่งที่เรียกว่า PM 2.5 ที่ครั้งหนึ่งได้สร้างความกังวลไปทั่วประเทศเนื่องจากมันมีความหนาแน่นสูงในช่วงต้นปี ค.ศ.2019 จากการจัดลำดับรายงานคุณภาพอากาศโลกปี ค.ศ.2019 ข้อมูลทางสถิติระบุว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมลพิษมากที่สุดเป็นอันดับที่ 28 จาก 98 ประเทศ PM2.5เป็นรูปแบบหนึ่งของมลพิษทางอากาศที่กล่าวถึง “ละอองฝุ่นขนาดเล็ก” มลพิษทางอากาศนี้มีขนาดเล็กอย่างไม่น่าเชื่อ โดยมีขนาด 2.5 ไมครอนหรืออาจจะเล็กกว่านั้นตามชื่อ จากการอ้างอิง เส้นผมของมนุษย์หนึ่งเส้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 70 ไมครอน ดังนั้นอนุภาคของมลพิษทางอากาศจึงมีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นผมประมาณ 30 เท่า อนุภาคของPM 2.5นี้ สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น

เนื่องจากขนาดที่เล็กอย่างไม่น่าเชื่อ มันสามารถเดินทางเข้าสู่ปอดและเป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคือง ซึ่งมีความรุนแรงเทียบเท่าการสึกหรอและฝังในผนังถุงลม เป็นเหตุให้ปอดทำงานผิดปกติ เหตุการณ์ในประเทศไทยครั้งนี้ได้บ่งชี้ว่ามลพิษทางอากาศกำลังคุกคาม และควรถูกควบคุมอย่างเหมาะสมเพื่อลดปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

นอกจากนี้ งานวิจัยขององค์การอนามัยโลก ในปี ค.ศ. 2018 มีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้มีการระบุว่า การดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศจะทำให้อายุขัยของคนคนนั้นลดลง 2 ปี ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังส่งผลในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย กล่าวคือ เป็นเหตุให้เกิดความตึงเครียดด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ฝนกรด ภัยแล้งและน้ำท่วม


มลพิษในด้านอุตสาหกรรม : มลพิษทางน้ำ

มลพิษทางน้ำจะมีผลต่อระบบการย่อยอาหารต่างจากมลพิษทางอากาศ โดยมีสาเหตุมาจากการปล่อยน้ำที่มีสารปนเปื้อนจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการกำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่เหมาะสม มลพิษทางน้ำที่มาจากการกระทำของมนุษย์ยังรวมถึงอุบัติเหตุอย่างการรั่วไหลของน้ำมัน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพน้ำและระบบนิเวศทางทะเล ในเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ.2011 น้ำตาลทรายแดงประมาณ 2,400 ตัน ได้ละลายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายหลักของประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลและคร่าชีวิตสัตว์ทะเลไปกว่า 20 ตัน นอกจากนี้ ในปี ค.ศ.2014 ก็เป็นอีกปีที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเผชิญกับอุบัติเหตุมลพิษทางน้ำ โดยเฉพาะการรั่วไหลของน้ำมัน ที่มีน้ำมันดิบรั่วไหลระยะทาง 6.4 กิโลเมตรใกล้กับเกาะเต่าซึ่งเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย ในที่สุดสิ่งนี้ก็นำไปสู่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงกับสัตว์ทะเล และยังเปลี่ยนแปลงระดับความเค็มอีกด้วย ในด้านการประมงก็น่าสนใจ วิกฤตครั้งนี้ก็มีผลต่อมนุษย์ผ่านอาหารทะเลที่เป็นครั้งหนึ่งเคยอยู่ในน้ำมันดิบ

แม้ว่าหลาย ๆ คนจะมีแหล่งน้ำที่สะอาด แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนในโลกที่จะเข้าถึงมัน ดังนั้นมลพิษทางน้ำจึงไม่เพียงเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศทางทะเลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมนุษย์ด้วยที่ดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเข้าไปด้วย อย่างไรก็ตามการนำเข้าสู่ร่างกายจะเป็นการรับแบคทีเรียเข้าสู่ร่ายกายมนุษย์ที่ธรรมดาที่สุด เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวคุณหรือการว่ายน้ำในน้ำที่มีการปนเปื้อนก็สามารถนำมาสู่ปัญหาที่ร้ายแรงได้

ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปัจจุบันมีประชากร 2.2 พันล้านคนที่ไม่อาจเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดได้อย่างเหมาะสม และภายในปี ค.ศ.2025 ครึ่งหนึ่งของประชากรโลกจะถูกล้อมด้วยน้ำที่มีการปนเปื้อนสูง ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน จากข้อมูลที่ตรงกันของ The Global Aid Network (GAN) ระบุว่า ประชากรไทยจำนวน 4.3 ล้านคน (คิดเป็น 6% ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย) กำลังบริโภคน้ำที่มีการปนเปื้อน


การปล่อยมลพิษในรถยนต์

ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ถึงเรื่อง ความสะดวกสบาย การปล่อยมลพิษในยานยนต์ที่เป็นมลพิษทางอากาศอีกประการหนึ่ง เป็นตัวการสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนเช่นกัน ในเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ.1998 ประเทศไทยได้ลงชื่อรับรองและปฏิบัติตามมาตรฐานไอเสียยูโรที่อยู่ในการดำเนินการของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เพื่อจำกัดและลดปริมาณการปล่อยมลพิษทางรถยนต์ มาตรฐานปัจจุบันนั้นอยู่ที่ Euro4 โดยมีประเภทของยานพาหนะดังนี้

- M1: รถยนต์โดยสารไม่เกิน 8 ที่นั่ง

- M2 : รถที่มีที่นั่งเกิน 8 ที่นั่ง ไม่รวมที่นั่งคนขับ

- N1 : มีน้ำหนักไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม

ยานพาหนะที่ถูกจัดประเภทเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ที่มีการบังคับควบคุม โดยยานพาหนะประเภท M1 คือรถยนต์โดยสารไม่เกิน 8 ที่นั่งไม่รวมที่นั่งคนขับ ประเภท M2 เป็นรถที่มีมากกว่า 8 ที่นั่ง ไม่รวมที่นั่งคนขับ และประเภท N1 ยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสินค้า จำกัดน้ำหนักไม่เกิน 3.5 ตัน อย่างไรก็ตามแม้จะมีข้อบังคับและมาตรฐานที่เข้มงวด แต่ประเทศไทยก็ไม่สามารถรักษาสภาพแวดล้อมได้ ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ.2018 จากการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตรอนโต รถบรรทุกเป็นตัวการหลักของมลพิษทางอากาศที่รุนแรง ความคิดที่จะใช้ยานพาหนะที่มีขนาดเล็กกว่าในการขนส่งยังไม่ถึงที่สุด เพราะยานพาหนะขนาดเล็กยังมีประสิทธิภาพน้อยในการขนส่งทรัพยากรและประชากร


รถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้าถูกมองว่าเป็นยนตรกรรมในอนาตคอย่างแท้จริง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศ ยานพาหนะที่มีความต้องการสูงได้ถูกพูดถึงว่าเป็นความหวังในการเยียวยาความสูญเสียทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน โดยในปี ค.ศ. 2035 ตลาดยานยนต์ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทยในการจัดจำหน่ายเพียงยานพาหนะปลอดมลพิษและต่อต้านการขายน้ำมันเท่านั้น ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าน้อยกว่า 1 % ของรถยนต์ทั้งหมด พวกเขามีเป้าหมายอย่างชัดเจนที่จะลงทะเบียนรถคันใหม่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 50% ภายในปลายทศวรรษและผลิตเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้นในปี ค.ศ.2035 ด้วยความพยายามนี้ ในทศวรรษหน้าได้ถูกคาดหวังว่าจะเป็นการปฏิวัติสภาพแวดล้อมโลก สิ่งสำคัญคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากยานพาหนะที่ใช้พลังงานก๊าซ (สถาบันยานยนต์)


การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล

เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติ ที่อยู่ในรูปของถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถูกเผาไหม้เพื่อสร้างเป็นพลังงาน แหล่งพลังงานเหล่านี้ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ แม้แต่ชีวมวลก็ถูกเผาไหม้เพื่อสร้างพลังงาน รวมทั้งการย่อยสลายของพืชและสัตว์ ปฏิกิริยาการเผาไหม้ส่วนใหญ่จะคายความร้อนเสมอ แล้วเหตุใดพวกเขาถึงผลิตพลังงานออกมา อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงก็คือ พวกเขาได้ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาด้วย โดยพื้นฐานแล้วการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลเหมือนเป็นการสกัดพลังงานออกจากแคปซูลพลังงาน วิธีสร้างพลังงานนี้มีมาแล้วหลายปี ที่เด่นชัดคือในระหว่าง ปี 1800 เมื่อถ่านหินถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับสร้างความร้อนภายในครัวเรือน


หลายประเทศในเอเชียเชื่อมโยงคำว่า กิน และ ข้าว เข้าไว้ด้วยกัน ราวกับว่าข้าวเป็นอาหารหลักของเอเชีย ไม่ว่าจะในประเทศไทย ประเทศเกาหลี หรือในประเทศจีน วลีที่ว่า คุณกินหรือยัง (“have you eaten rice?”) จะแปลออกมาดังนี้ตามลำดับ “gin khao laew yang?”, “pab meog-eoss-eo?”, และ “chi fan le ma” สิ่งนี้ตอกย้ำว่าข้าวนั้นสำคัญต่อวัฒนธรรมเอเชียอย่างไรและด้วยการทำนาเป็นแหล่งปลูกข้าว ด้านการเกษตรจึงเป็นปัญหาซ้ำซากที่นำไปสู่ปัญหามลภาวะ


ด้านการเกษตรนั้นได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงและได้รับความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากมลพิษ เช่น การจำกัดการผลิตและการทำลายพืชผล สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การเกษตรนั้นไม่ได้เป็นแค่เหยื่อจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ แต่ยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอีกด้วย การกสิกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงกับมลพิษทางอากาศและทางน้ำ ทั้งจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี และสารเคมีที่เป็นพิษอื่น ๆ ที่ถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำสายหลัก ไปทำลายระบบนิเวศทางทะเล อีกทั้งการเผาในการเกษตรก็ยังเป็นเทคนิคที่ช่วยเกษตรกรในการทำความสะอาดและกำจัดซากพืชหลังเก็บเกี่ยวพืชผล อย่างไรก็ตามมันก็เป็นสาเหตุให้เกิดมลพิษ ซึ่งเป็นวัฏจักรที่ไม่สิ้นสุดของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากการเกษตรนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่ออาหารหลายประเภท ดังนั้นผลลัพธ์ทางการเกษตรจึงถูกมองข้ามไป


(ผลกระทบของ) โควิด-19

โควิด-19 เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.2019 และแพร่ระบาดอย่างหนัก ในปี ค.ศ. 2020 สิ่งนี้เป็นเหมือนคำสาปร้ายที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่หากพิจารณาอย่างใกล้ชิดจะพบว่ามันได้นำการเปลี่ยนแปลงในด้านดีบางอย่างมาสู่โลกด้วย ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 ประเทศไทยเริ่มต้นปีด้วยการล็อกดาวน์ และผลจากการศึกษาในหลาย ๆ แหล่ง ในปี ค.ศ.2020 ได้แสดงให้เห็นว่าคุณภาพอากาศนั้นดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ด้วยการลดลงอย่างน่าทึ่งของ PM 2.5 ที่เป็นอันตราย ระดับความเข้มข้น 15.8% และ 20.7% ในระหว่างและหลังการล็อกดาวน์ตามลำดับ กิจกรรมของมนุษย์ที่ลดลงได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการควบคุมสุขภาพแวดล้อม


การแก้ปัญหา / การทิ้งขยะ

การเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในสภาพภูมิอากาศได้จุดประกายให้มีการจัดการด้านมลพิษอย่างเป็นระบบระเบียบขึ้น โดยภาพรวมแล้วหลายประเทศได้ขบคิดถึงเรื่องการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า การทิ้งขยะ แม้จะมีขนาดเล็กแต่เมื่อนำขยะมารวมกันก็จะกลายเป็นขยะจำนวนมหาศาลในแต่ละปี สิ่งของที่ถูกกำจัดอย่างไม่เหมาะสม ก็ได้แก่ ถุงพลาสติก เศษยาสูบ ที่ห่ออาหาร ขวดพลาสติก หลอด และอื่นๆ เห็นได้ชัดว่าพลาสติกมีปริมาณสูงมากเมื่อถูกนำไปทิ้งเป็นขยะ สิ่งนี้ก่อให้เกิดภัยคุกคามอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลาสติกไม่เหมาะที่จะถูกเผาเนื่องจากจะปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้การทิ้งขยะส่งผลต่อมลพิษทางน้ำอีกด้วย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศทางทะเล

ในปี ค.ศ.2020 ประเทศไทยได้ห้ามใช้ถุงพลาสติกในตลาดใหญ่ ๆ ดังที่รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลกซึ่งเป็นประเทศต้น ๆ ที่มีปัญหาด้านมลพิษขยะ อย่างไรก็ตามด้วยความร่วมมือและความตระหนักของคนไทย ทำให้ลำดับของประเทศไทยตกลงไปอยู่ที่ลำดับที่สิบภายในห้าเดือน การใช้ถุงพลาสติกลดลงประมาณ 5,700 ตันภายในปี ค.ศ. 2019 ซึ่งเป็นระยะแรกของการรณรงค์งดใช้พลาสติก และต่อมาก็ปรับให้เป็นการห้ามใช้พลาสติกในปีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงการตระหนักรู้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถจัดการปัญหาสังคมได้อย่างง่ายดายด้วยการร่วมมือกัน ดังนั้น ในนามของ Science for the People Thailand เราต้องการให้กระแสดังกล่าวดำเนินต่อไป และสำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะพิจารณาลดปริมาณการใช้ขยะในสินค้าของพวกเขา


Bangkok air quality. (n.d.). Retrieved October 12, 2022, from https://bangkokairquality.com/bma/aqi?lang=en Bangkok air quality index (Aqi) and thailand air pollution | iqair. (n.d.). Retrieved October 12, 2022, from https://www.iqair.com/th-en/thailand/bangkok Deciphering the black box of air pollution data in thailand. (n.d.). ESCAP. Retrieved October 12, 2022, from https://www.unescap.org/blog/deciphering-black-box-air-pollution-data-thailand Limited, B. P. P. C. (n.d.). Thai public must back bill for clean air. Bangkok Post. Retrieved October 12, 2022, from https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/2244079/thai-public-must-back-bill-for-clean-air project, T. W. A. Q. I. (n.d.). Air pollution in thailand: Real-time air quality index visual map. Aqicn.Org. Retrieved October 12, 2022, from https://aqicn.org/map/thailand/ Thailand’s new air quality standard to become effective in June 2023. (n.d.). Retrieved October 12, 2022, from https://www.thaipbsworld.com/thailands-new-air-quality-standard-to-become-effective-in-june-2023/

1,385 views0 comments

Recent Posts

See All

Throughout 2021 and 2022, members have written blogs on relevant issues in Thailand. These were collected in the following document. Please note that the texts are in the Thai language. https://docs.g

By Jerry Liang Translated by Nattapol Kiatchaipipat ในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน ประเด็นด้านศีลธรรมและจริยธรรมก็ได้รับความสนใจมากขึ้น ประเด็นต่างๆอย่าง “เราควรแก้ไขจีโนมของเด็กหรื

By Ayush Barik Translated by Nattapol Kiatchaipipat ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่คืออะไร? เทคโนโลยีได้รับอิทธิพลมากมายจากวัฒนธรรม และเทคโนโลยีบางอย่างก็สามารถถูกสร้างขึ้นได้เพราะวัฒน

bottom of page